เกล็ดความรู้
แบตเตอรี่รถยนต์ ทำหน้าที่ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น
แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกันถ้าไดร์ชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง(แบตเตอรี่) จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียว ก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่องยนต์เท่านั้น เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และทำงานแล้ว ไดร์ชาร์จก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป และ ถูกประจุเพิ่มเข้าไป หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียว
นั่น หมายความว่าแบตเตอรี่รถยนต์จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ- เก็บไฟไม่อยู่ หรือ หมดอายุการใช้งาน
- ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง ซึ่งทำให้ประจุไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่ได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือ ไม่สามารถประจุไฟเข้าไปได้เลย
- แบบเปียก นิยม ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ต้องเติม และ ดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กับ แบบไม่ต้องดูแลบ่อย (Maintenance Free) ซึ่งจะกินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น ในแบบแรกนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 1.5-2 ปี แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และ การดูแลรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่สม่ำเสมอก็จะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อถึงอายุการใช้งานของมันก็สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้แล้ว
- แบบแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และ มีราคาแพง แบตเตอรี่รถยนต์แบบแห้งนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 5-10 ปี แบตเตอรี่แบบนี้ไม่มีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น หรือไม่ก็ถูกซีลทับฝาไปเลย แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับไว้คอยตรวจเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟชาร์จ
- เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก
- ไฟหน้าไม่ค่อยสว่าง
- ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง
- ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปรกติ
- สังเกตว่าแบตเตอรี่ใหม่ ซึ่งจะใช้ติดรถ อยู่ในสภาพไฟเต็ม
- ควรบันทึกวันที่เริ่มใช้แบตเตอรี่ใหม่ ไว้เพื่อการตรวจสอบสภาพเป็นช่วงๆ
- ยึดแบตเตอรี่และแท่นวางแบตเตอรี่ให้แน่น ไม่เคลื่อนไหว
- ถ้าแบตเตอรี่มีท่อยาวระบายอากาศ อย่าให้ท่อระบายอากาศถูกกดทับเพราะอาจทำให้แบตเตอรี่ระเบิดได้
- ใส่ขั้วไฟก่อน (อาจเป็นขั้วบวกหรือขั้วลบก็แล้วแต่ชนิดของรถ) ก่อนใส่ควรขยายขั้วสวมให้โตกว่า ขั้วแบตเตอรี่เล็กน้อย ห้ามตอกขั้วต่ออัดลงไปเพราะจะทำให้ขั้วแบตเตอรี่ทรุดตัว แบตเตอรี่อาจเสียหายได้
- เมื่อต่อขั้วเรียบร้อย ทาขั้วด้วยจารบี หรือวาสลิน
- ต่อขั้วดินเป็นอันดับสุดท้ายจากนั้นก่อนสตาร์ทเครื่อง ก็ควรตรวจดูความถูกต้องในการต่อขั้วอีกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของรถยนต์และตัวคุณเองครับ
ขั้นตอนการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์
การเปลี่ยนแบตเตอรี่ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเปลี่ยนแบตเตอรี่ ก็ต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้การเสียหายเกิดขึ้น ข้อพึงระวังสำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่เอง คือ
- ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกครั้ง (OFF)
- ในการถอดแบตเตอรี่ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร
- และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ
- ตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่เสมอ อย่าให้มีรอยแตกร้าว เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เก็บประจุไฟฟ้า
- ดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดเสมอ ถ้ามีคราบเกลือเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาด
- ตรวจสภาพของระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกๆ 1 สัปดาห์
- ตรวจเช็กระบบไฟชาร์จของอัลเตอร์เนเตอร์ ว่าระบบไฟชาร์จต่ำหรือสูงไป ถ้าต่ำไป จะมีผลทำให้กำลังไฟไม่พอใช้ในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือถ้าสูงไปจะทำให้ น้ำกรดและน้ำกลั่นอยู่ภายในระเหยเร็วหรือเดือดเร็วได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน
- ช่วงที่มีอากาศหนาวหรืออุณหภูมิต่ำ ประสิทธิภาพการแพร่กระจาย ของน้ำกรด และน้ำกลั่นจะด้อยลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟมากๆ ขณะอากาศเย็น
- ควรศึกษาถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่และไดชาร์จ เพื่อที่จะให้วงจรการไหลของไฟฟ้าเป็นไปด้วยดี
- ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมต่ำหรือสูงเกินไป
- ต่อขั้วบวก (+) ของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด
- ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
- ต่อขั้วลบ (-) ของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
- ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับโครงรถคันที่แบตเตอรี่ไฟหมด
- เมื่อสตาร์ทรถยนต์คันที่ไฟหมด ติดแล้ว จึงค่อยถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ทวนตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้น
- การเก็บแบตเตอรี่แบบแห้ง (Dry Storage) เป็นการเก็บแบตเตอรี่ไว้โดยไม่มีสารละลายอยู่ในแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเก็บแบตเตอรี่ที่ผลิตออกมาจากโรงงานใหม่ๆ เมื่อต้องการจะใช้งานก็จะนำแบตเตอรี่ไปเติมสารละลายและประจุไฟฟ้าให้เต็ม แต่สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วมีสารละลายอยู่ภายในแบตเตอรี่ การเก็บให้ถอดแบตเตอรี่ออกจากรถนำไปชาร์จไฟให้เต็มแล้วเทน้ำยาทิ้ง ใช้น้ำกลั่นล้างแล้วเทคว่ำให้แห้ง เมื่อต้องการจะใช้แบตเตอรี่ก็นำไปเติมน้ำยาและชาร์จไฟใหม่
- การเก็บแบตเตอรี่แบบเปียก (Wet Storage) แบตเตอรี่ถึงแม้จะชาร์จไฟเต็มแล้ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จะสามารถคายประจุไฟออกมาเอง ดังนั้นการเก็บแบตเตอรี่ในขณะที่แบตเตอรี่มีน้ำกรดอยู่ภายใน ควรนำไปประจุไฟทุกๆ 15 วัน การเก็บแบตเตอรี่แบบนี้ ถือว่าเป็นการจัดเก็บแบบชั่วคราว เพื่อลดปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ อย่าลืมเก็บแบตเตอรี่ให้ถูกวิธีนะครับ
- ขั้นแรก ใช้แปรงลวดปัดทำความสะอาดด้านบนของแบตเตอรี่ เพื่อขจัดคราบสกปรกในเบื้องต้นก่อน
- ขั้นที่สอง ใช้แปรงลวดจุ่มโซเดี่ยมคาร์บอเนต หรือโซดาผง ผสมน้ำ ปัดเพื่อทำความสะอาดแบตเตอรี่
- ขั้นที่สาม ล้างโซเดี่ยมคาร์บอเนตออกด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ลูกยางดูดน้ำออกให้หมด
- ขั้นที่สี่ ถอดสายแบตเตอรี่ออก (ถอดขั้วลบออกก่อน และเมื่อประกอบกลับคืน ให้ใส่ขั้วบวกก่อน เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ) จากนั้นเช็ดเพื่อเอาคราบน้ำมันและจาระบีออก